วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Home by Yann Arthus-Bertrand.



เรื่อง Home by Yann Arthus-Bertrand
เป็นอีกภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมแห่งปีที่ “ญานน์ อาร์ทูส์-แบร์ทรองด์” นอกจากทำหน้าที่กำกับแล้วยังร่วม
เขียนบทพร้อมกับใช้เวลาในการสร ้างร่วม 3 ปี เพราะต้องเดินทางหาโลเกชั่นเพื่อถ่ายทำให้ได้ภาพแปลกตา
กว่า 54 ประเทศ เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อโลก จึงต้องตระเวนถ่ายทำเพื่อเก็บ
สต๊อกภาพที่มีความยาวถึง 488 ชั่วโมงแล้วนำมาตัดต่อให้เหลือเพียง 120 นาทีสำหรับภาพยนตร์สารคดีเรื่อง
เยี่ยม “โฮม (Home) เปิดหน้าต่างโลก” ที่ เอ็มพิคเจอร์ส เตรียมนำ มาให้แฟนๆ ในไทยได้ชมกันเพราะถึงเวลาที่
มนุษย์ทุกผู้คนต้องรู้จักปกป้องแล ะรักษาสิ่งแวดล้อมโลกก่อนที่จะสายเกินไป เนื่องจากมนุษย์ได้ทำลายสมดุล
ธรรมชาติมามากมายแล้ว สำหรับการเดินทางเพื่อเสาะหาโลเกชั่นนั้นยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ
ในกรุงปารีสที่จัดหาลูกมือภาคสนามมาร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของทีมสร้าง เพราะการถ่ายทำต้องถ่ายทำทั้งบนภาค
พื้นดินและบนอากาศโดยใช้เฮลิ คอปเตอร์ เพื่อขนผู้กำกับและช่างกล้องพร้อมผู้คุมงานภาพขึ้นไปถ่ายทำบน
ท้องฟ้าเพื่อให้ภาพสมบูรณ์และงดงามชนิดชาวไทยไม่เคยเห็นมาก่อน เป็นการนำเสนอให้รู้ว่าบนโลกของเรา
ยังมีสิ่งที่งดงามอลังการที่ มนุษย์เราต้องช่วยกันรักษาไว้เพราะโลกใบนี้ก็คือ “บ้าน” ของมนุษย์ทุกคน
200,000 ปีบนโลก มนุษยชาติพลิกผันดุลยภาพของดาวดวงนี้ ซึ่งกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยก็ต้องอาศัยวิวัฒนาการ
เกือบ 4 พันล้านปี ทุกวันนี้คือเวลาแห่งการชดใช้อย่างสาสม และสายเกินกว่าจะคร่ำครวญ มนุษยชาติเหลือ
เวลาอีกไม่ถึง 10 ปีเพื่อกลับตัวกลับใจ เพื่อตระหนักถึงความอุดมสมบูรณ์ของโลกที่สูญสิ้นไปทุกหย่อมหญ้า
และเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลาญทรัพยากรนอกจากจะได้เห็นฟุตเทจแปลกตาซึ่งรวบรวมมาจากเหนือ

พื้นดินของกว่า 50 ประเทศ รวมถึงได้ร่วมแบ่งปันความพิศวงสงสัยและความกังวลใจ
ญานน์ อาร์ทูส์-แบร์ทรองด์ ยังหวังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราร่วมแรงร่วมใจกันฟื้น ฟูบ้าน
หลังใหญ่ขึ้นมาอีกครั้ง และนี่คือข้อมูลที่คุณควรได้รู้ไว้
- 20% ของประชากรโลกถลุงทรัพยาการของดาวดวงนี้ไปถึง 80%
- ทั้งโลกใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์มากกว่านำเงินไปช่วยเหลือประเทศกำ ลังพัฒนาถึง 12 เท่า
- 5 พันคนต่อวันเสียชีวิตเพราะน้ำดื่มที่ปนเปื้อน และ 1 พันล้านคนไม่มีน้ำสะอาดไว้ดื่ม
- 1 พันล้านคนกำลังหิวโหย
- กว่า 50% ของเมล็ดธัญพืชที่ซื้อขายกันทั่วโลกใช้เป็นอาหารสัตว์และผลิตเช ื้อเพลิงชีวภาพ
- พื้นที่กสิกรรมเสื่อมสภาพไปถึง 40%
- ทุกๆ ปี พื้นที่ป่าสูญหายไป 13 ล้านเฮกตาร์
- 1 ใน 4 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, 1 ใน 8 ของนก และ 1 ใน 3 ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำใกล้จะสูญพันธุ์สัตว์หลายๆ สปีชี่ตายเร็วกว่าอายุขัยตาม
ธรรมชาติถึง 1 พันเท่า
- ผลิตผลทางการประมงลดน้อยลง สูญสิ้น หรือเสี่ยงต่อการสูญสิ้นถึง 75%
- ตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติ อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานับว่าสูงที่สุด
- แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกบางลงถึง 40% ในระยะเวลา 40 ปี
- ก่อนถึงปี 2050 คาดว่าจะมีผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศอันเลวร้าย 200 ล้านคน ตบท้ายด้วยดูภาพที่เห็นแล้วจะทึ่ง ในความอุตสาหะ ไปเก็บภาพมา
ของทีมงานหนังเรื่องนี้


ความแห้งแล้ง แสดงออกผ่านชาวบ้านในคูเดียลา,ราชาสถาน อินเดีย มาตักน้ำ ที่บ่อน้ำ


สภาพซากเศษตกค้างของการขุดเจาะบ่อน้ำมัน ในฟอร์ทแมคเมอร์เรย์, อัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา


ทะเลสาปโพเวลล์, รัฐยูท่าห์, อเมริกาที่เริ่มถูกกลืนกินไปจนเห็นริ้วรอยอย่างเห็นได้ชัด


บ่อน้ำพุสีรุ้ง, อุทยานแห่งชาติเยลโล่สโตน, รัฐไวโอมิ่ง,อเมริกา ที่เริ่มขาดสมดุล


โรงงานใกล้ กรินดาวิค ที่ปล่อยความร้อนในประเทศที่ได้ชื่อว่าหนาวเย็นอย่างไอซ์แลนด์ กำลังพ่นไอร้อนลงในทะเลสาบทำลายสมดุลธรรมชาติ


การย่อยสลายของภูเขาไฟ ลาคากิการ์ในประเทศไอซ์แลนด์


บ้านที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ในเมือง ไฟร์บวร์กประเทศเยอรมันนี


เรือบรรทุกน้ำมันที่ลอยอยู่บนน่านน้ำใน ฝรั่งเศส


ผนผังบ้านธรรมชาติในซาน ออกุสติน ใกล้เมืองอัลเมเรียแคว้นอันดาลูเซีย ประเทศสเปน


วิถีชีวิตชาวบ้าน กับการเก็บเกี่ยวข้าวสาลีในประเทศเนปาล


เรือประมงเข้าเทียบท่า มอฟติ บนแม่น้ำไนเจอร์ ประเทศมาลี


คาราวานที่สัญจรด้วยอูฐ ใกล้ทิจิต, มอริตาเนีย


สภาพสลัมใน มาโกโก้ ใกล้เกาะลากอสเมืองหลวงประเทศไนจีเรีย


ฝูงควายแห่งทุ่งซาวันน่า ในศูนย์โอคาวานโก้,ประเทศบอตสวาน่า

สิ่งที่ชอบ
จากการได้รับชมสารคดีชุดนี้ สิ่งที่ดิฉันชอบและประทับใจที่สุดคือ แนวความคิดที่นำเอาสาระเหล่านี้มา
สร้างให้เกิดความน่าสนใจ โดยผ่านมุมมองที่แปลกคือมุมสูง ทำให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
ด้วยมุมมองของภาพที่ดูแล้วสวยทุกรูป และดนตรีประกอบการนำเสนอ สามารถสื่อให้ผู้ชมรับรู้ได้ถึง
วิกฤตการณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเรา ได้อย่างดีเยี่ยม ถือได้ว่าเป็นสารคดีที่ปลุกระดมให้มนุษย์
หันมาใส่ใจโลกของเรามากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะ
ดิฉันคิดว่าควรนำภาพสวยๆเหล่านี้ที่มีอยู่ ซึ่งเป็นภาพที่หาดูหรือเก็บภาพความทรงจำเหล่านี้ได้ยาก
ฉะนั้นดิฉันคิดว่าควรนำเอาภาพถ่ายเหล่านี้มาเจัดเก็บไว้ในหอศิลป์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ
และดิฉันคิดว่าการทำแบบนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้มนุษย์เราที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ได้รับรู้ถึงการเปลี่ยน
แปลงที่เกิดขึ้นกับโลกโดยผ่านรูปภาพเหล่านี้ และควรมีการอัพเดทความเคลื่อนไหวของทรัพยากรณ์ธรรมชาติ
ของโลกให้มนุษย์เราได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยผ่านภาพเหล่านี้ด้วย

KEYWORDS.
- น้ำ
- พลังงาน
- มนุษย์
- วิวัฒนาการ
- ต้นไม้
- ทะเลทราย
- ความร้อน
- อากาศ
- เครื่องจักรกล
- เพาะปลูก